ผ่าตัดส่องกล้องทางเลือกใหม่ของการรักษาเส้นเอ็นเข่าขาด

ปัญหาเกี่ยวกับหัวเข่านับเป็นเรื่องน่าหนักใจที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเกี่ยวกับเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า (Anterior Cruciate Ligament หรือ ACL) ตรงบริเวณจุดกึ่งกลางข้อเข่า ยาวไปตามแนวเฉียงจากด้านหลังของกระดูกต้นขาไปจนถึงกระดูกหน้าแข้ง เป็นเส้นเอ็นที่คอยทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกระดูกหน้าแข้ง หากเป็นผู้ที่สนใจติดตามข่าวสารวงการกีฬามักจะพบเห็นข่าวการบาดเจ็บของนักกีฬาเกี่ยวกับเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่านี้ฉีกขาดอยู่เสมอ ขณะเดียวกันสำหรับคนทั่วไป อุบัติเหตุจากการออกกำลังกายหรือการดำเนินชีวิตประจำวันก็สามารถส่งผลให้เกิดอาการดังกล่าวได้เช่นกัน

ในบางรายนั้นขณะเกิดการบาดเจ็บอาจรู้สึกได้ถึงการฉีกขาดอย่างชัดเจน จากนั้นจะมีอาการปวดบวมบริเวณหัวเข่าในทันที และไม่สามารถลงน้ำหนักตัวได้เหมือนปกติ หากพบอาการดังกล่าวผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด พ.ต.อ.นพ.จิรันธนิน รัตนวารินทร์ชัย แพทย์ประจำศูนย์ทางการแพทย์ คลินิกโรคกล้ามเนื้อ กระดูก โรงพยาบาลพญาไท 3 ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองเบื้องต้นหากพบอาการเส้นเอ็นเข่าขาดว่า ควรหยุดพักกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อหัวเข่า รวมถึงการประคบและการนั่งยกขาสูง ควบคู่ไปกับการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง อาการบาดเจ็บจะค่อย ๆ ทุเลาลงภายในระยะเวลา 1 – 2 สัปดาห์ แต่ด้วยเส้นเอ็นดังกล่าวไม่สามารถเชื่อมต่อกันเองได้ การรักษาเบื้องต้นจึงทำได้เพียงแค่บรรเทาอาการและลดอาการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อเท่านั้น แต่หากผู้ป่วยต้องการกลับมาดำเนินชีวิตอย่างปกติหรือกลับไปเล่นกีฬาได้เช่นเดิมก็ควรเข้ารับการผ่าตัดจะดีที่สุด

ในปัจจุบัน เครือโรงพยาบาลพญาไทได้นำเทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องเข้ามาใช้ในการรักษาอาการเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด โดยใช้การย้ายเนื้อเยื่อเส้นเอ็นจากส่วนอื่น เช่น เส้นเอ็นสะบ้า หรือเส้นเอ็น Hamstrings ไปทดแทนยังตำแหน่งของเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่าที่บาดเจ็บ การรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวยังส่งผลดีต่อผู้ป่วยมากกว่าวิธีการผ่าตัดแบบเดิม เพราะเป็นการผ่าตัดในลักษณะบาดเจ็บน้อย (Minimal invasive surgery) แต่ให้ผลการรักษาที่ดี ช่วยให้การดูแลหลังผ่าตัดและการทำกายภาพบำบัดสามารถทำได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันบาดแผลที่เกิดจากการผ่าตัดยังมีขนาดเล็กและทิ้งร่องรอยแผลเป็นน้อย การผ่าตัดส่องกล้องนี้นับเป็นมาตรฐานการรักษาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงที่สุดในขณะนี้อีกด้วย


พ.ต.อ.นพ. จิรันธนิน รัตนวารินทร์ชัย

*********************************************************

เทคโนโลยีการผ่าตัดแบบไม่ปวด หรือปวดน้อย 

“ Painless Surgery ” ในการผ่าตัดข้อเข่า-ข้อไหล่

จะทนเจ็บไปทำไม ในเมื่อผู้ป่วยเลือกได้!!!


เมื่อพูดถึง “ผ่าตัด” ข้อเข่า-ข้อไหล่ สิ่งแรกที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่คิดถึงคืออะไร? 

   “กลัว”  “เจ็บ”  “ขอยังไม่เอาดีกว่า”

เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์..ทำให้การ “ผ่าตัด” ไม่จำเป็นต้อง “ทนเจ็บ” อย่างที่คิดอีกต่อไป


การผ่าตัดเป็นการบาดเจ็บที่หมอเป็นคนทำเพื่อการรักษาโรค แต่เป็นบาดแผลที่ทำด้วยการวางแผนอย่างระมัดระวัง เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด 


การผ่าตัดใหญ่รักษาหลายต่อหลายโรคทางออร์โธปิดิกส์ในปัจจุบันถ้าได้รับการวางแผนการผ่าตัดอย่างดี โดยเฉพาะการ “ระงับความเจ็บปวด” ที่ดีพอ จะทำให้ผู้ป่วยแทบจะไม่ปวดในหลังการผ่าตัดเลย และในหลายรายบอกว่าไม่เจ็บแผลอย่างที่คิดไว้ก่อนผ่าเลยแม้กระทั่งแพทย์อนุญาตให้กลับไปพักที่บ้านแล้ว โดยแพทย์ผู้ผ่าตัดจะต้องทำงานเป็นทีมและประสานกับวิสัญญีแพทย์ได้เป็นอย่างดี

 

แล้วมีวิธีอะไรที่แพทย์จะเลือกใช้ให้กับคนไข้ได้บ้างเพื่อเป็น Painless Surgery…..?


“ทำให้การผ่าตัดนั้นบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อยที่สุด” วิวัฒนาการทางการแพทย์ ทำให้สามารถทำการผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือและกล้องขนาดเล็ก ผ่านแผลขนาดเล็กที่เรามักเรียกว่า “การผ่าตัดผ่านกล้อง”  

( Arthroscopic Surgery ) ซึ่งขนาดของแผลจะเล็กประมาณปากกา หรือ นิ้วก้อย ทำให้บาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อน้อย เมื่อบาดเจ็บน้อยก็ทำให้

-อาการปวดหลังผ่าตัดน้อยตามไปด้วย

-การฟื้นตัวหลังผ่าตัดจะเร็วมาก ทำให้ผู้ป่วยสามารถเดินได้ หรือขยับไหล่-ยกไหล่ได้ภายใน 12 ชั่วโมงหลังผ่าตัด

-ในเมื่อการฟื้นตัวเร็ว ก็ทำให้ภาวะแทรกซ้อนต่างๆแทบจะไม่เกิด


Q : แล้วหลังจากฟื้นจากยาสลบ...ความเจ็บปวดก็จะกลับมาอีก? 

  

A:ในปัจจุบันแพทย์สามารถวางแผนที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเจ็บปวดโดยไม่จำเป็นได้ตั้งแต่ “ก่อน -ระหว่าง และ -หลังการผ่าตัด”  ด้วยยาและเทคนิคต่างๆ เช่น 

1. การบล็อกหลัง ที่ทำให้ความเจ็บปวดแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ลดลงอย่างมาก 

2. การใช้เครื่องควบคุมการฉีดยาระงับปวดหลังการผ่าตัด หรือ  

   “PCA” คือผู้ป่วยสามารถกดปุ่มให้เครื่องฉีดยาลดอาการปวดได้ตามต้องการ..แทนที่การ   “ขอยาแก้ปวด” เมื่อปวดจนทนไม่ไหว แต่วิธีนี้จะมีเครื่องฉีดยาที่ต่อกับสายน้ำเกลือ และเครื่องนี้ต้องเสียบปลั๊กไฟ ทำให้ยุ่งยากในการหัดเดิน หัดบริหารหลังผ่าตัด

3. การฉีดยาชาระงับปวดที่เส็นประสาท ( Nerve block ) 

ที่ต้นขา ( สำหรับการผ่าตัดข้อเข่าได้ทุกประเภท ) 

และที่เหนือกระดูกไหปลาร้า ( สำหรับการผ่าตัดข้อไหล่ได้ทุกประเภท) แล้วต่อสายยาชาเข้ากับขวดปั้มยา ( Balloon Jector มีขนาดขวดประมาณโค้กกระป๋อง) ซึ่งขวดจะสามารถปล่อยยาชาออกมาได้เองโดยไม่ต้องต่อกับสายไฟไดๆ( ทำให้แตกต่างกับการใช้ PCA ) คนไข้เมื่อแพทย์ปลดน้ำเกลือออกแล้ว ก็สามารถถือขวดปั้มยานี้ หรือใส่กระเป๋าเสื้อ ไปได้ตลอดเวลาที่หัดเดินบริหาร โดยทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บที่แผลผ่าตัด


รูปที่ 1 : แสดงกายวิภาคของเส้นประสาท Adductor canal



รูปที่ 2 : แสดง Balloon Jector PCA set


การผ่าตัดที่มีการวางแผนเป็นอย่างดีจะทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บหลังผ่าตัด

( Painless Surgery technology )

  มีการวางแผน

  • รู้ว่าจะผ่าอะไร ตรงไหน อย่างไร
  • เลือกใช้เทคนิคที่บาดแผลน้อยที่สุด
  • ให้ยาให้ผ่อนคลายก่อนการผ่าตัด
  • ให้ยาปฏิชีวนะป้องกันความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ให้ยาแก้ปวดแบบป้องกันล่วงหน้า
  • เลือกใช้เทคนิคปิดกั้นการรับความรู้สึกเจ็บ ซึ่งอาจใช้หลายเทคนิคร่วมกัน เช่น -บล็อกหลัง+ใช้ยาสลบ
  • บล็อกหลัง+ใส่สายบล็อกหลังระงับปวดหลังผ่าตัดตั้งแต่ต้น
  • บล็อกหลัง + การทำ Adductor Nerve block ต่อด้วย Balloon Jector ในการผ่าตัดข้อเข่า
  • บล็อกหลัง + การทำ Interscalene Nerve block ต่อด้วย Balloon Jector ในการผ่าตัดข้อไหล่

 

แค่นี้ผู้ป่วยก็ผ่าได้อย่างปลอดภัย และไม่ปวดอีกต่อไป  

ผู้สนใจสามารถดู VDO ตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเอ็น ACL ด้วยเทคนิค Painless Surgery ได้ที่ YouTube Channel : Dr.Jirantanin Orthopaedic

https://www.youtube.com/channel/UC2LlsbABtyEQL5X6amfns4A






ผลการรักษา

ติดต่อเรา

รพ.ตำรวจ

คลินิกพิเศษนอกเวลา(คลินิกรุ่งอรุณ)

เบอร์โทร

02-207-6000 ต่อ 10479

ที่อยู่

492 1 ถนน พระรามที่ ๑ แขวง ปทุมวัน เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

เวลาทำการ

จ. 05:00 - 08:00 น.
พฤ. 05:00 - 08:00 น.

รพ.เทพธารินทร์

เบอร์โทร

02-348-7000

ที่อยู่

3850 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง คลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

เวลาทำการ

จ. 17:00 น. - 20:00 น.

รพ.นนทเวช

ติดกับ The Mall งามวงค์วาน

เบอร์โทร

02-596-7888

ที่อยู่

30/8 ถ. งามวงศ์วาน ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

เวลาทำการ

อ. 16:00 น. - 21:00 น.
ส. 12.00 - 16.00 น.

รพ.เปาโล พหลโยธิน

สะพานควาย

เบอร์โทร

02-279-7000

ที่อยู่

670/1 พหลโยธิน แขวง สามเสนใน เขต พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

เวลาทำการ

ส. 9:00 - 11:30 น.
เฉพาะสัปดาห์ที่ 2,4 ของเดือน