ที่หมอใช้หัวข้อดุดันว่า อาจพิการได้ เพราะต้องการให้ความรู้ว่าบางภาวะของโรคปวดไหล่จากสาเหตุเส้นเอ็นข้อไหล่ขาด ถ้าไม่รักษาปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้พิการได้จริงๆ คือทำให้มีอาการอ่อนแรงของข้อไหล่ และถ้าเป็นในแขนข้างถนัดก็จะให้อ่อนแรงถึงขั้นยกแขนไม่ขึ้นหรือแม้แต่ไม่มีแรงจับ ช้อนอาหารตักเข้าปากได้
สาเหตุของโรคปวดไหล่ ที่พบบ่อยที่ OPD กระดูกและข้อ ขอแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
A. บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ: ทำให้เกิด กล้ามเนื้อฉีกขาด เส้นเอ็นขาด กระดูกหัก หรือ ข้อเคลื่อน
B. ปวดไหล่ที่ไม่ได้มีอุบัติเหตุนำมาก่อน ซึ่งจะพบได้มากขึ้นในคนไข้อายูมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป
- การใช้ข้อไหล่มากไป หรือ อย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ หรือ กล้ามเนื้อฉีกขาด
- หินปูนในข้อไหล่ บริเวณกระดูก Acromian มีการศึกษาวิจัยกายวิภาคของกระดูกชนิดนี้ในคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนมีลักษณะกระดูกนี้เป็นตะขอ ( Hook type ) ทำให้เวลาทำกิจกรรมหรือกีฬาที่เป็น Over head บ่อยๆ เช่นการตีแบตมินตัน การยกน้ำหนักในแบบท่าเหนือหัวบ่อยๆ ทำให้หินปูนที่เกาะที่กระดูกนี้ไปเสืยดสีกับเส้นเอ็นข้อไหล่ได้ บางครั้งก็ทำให้แค่อักเสบ แต่ถ้าเป็นนานๆขึ้นหรือมากขึ้นก็พัฒนาไปเป็นเอ็นข้อไหล่ฉีกขาดได้ ( Rotator cuff tendon tear
- การเสื่อมตามธรรมชาติ ( degeneration ) ของเส้นเอ็น และกระดูก จะพบในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย มีการศึกษาวิจัยพบว่าการเกิดสถาวะเสื่อม และขาดเลือดไปเลี้ยงเส้นเอ็น Rotator cuff tendon ทำให้เอ็นมาการฉีกขาดได้
- โรคแคมเซียมเกาะข้อไหล่ ( Calcific tendinitis ) โรคนี้ผู้ป่วยมักตื่นขึ้นมาในตอนเช้าจะมีอาการปวดเฉียบพลัน
- โรคข้ออักเสบ ที่มีข้อไหล่อักเสบร่วมด้วยได้ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์
- อาการปวดไหล่ จากโรคอื่นๆ แต่มีอาการปวดร้าวมาจากที่ข้อไหล่ เช่น กระดูกคอเสื่อม กล้ามเนื้อหลังอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ โรคของหัวใจ โรคตับ มะเร็ง เป็นต้น
- ข้อไหล่ติด พบได้บ่อยใน ผู้สูงอายุ โดยแบ่งได้เป็น
- ข้อไหล่ติดแบบไม่ทราบสาเหตุ พบได้น้อยกว่า และอาจมีโรคประจำตัวเช่น โรคไทรอยด์
- ข้อไหล่ติดจากเป็นผลตามมาของโรคอื่น เช่น ไหล่ติดจากอุบัติเหต หรือเกิดอาการไหล่ติดหลังมีเอ็นข้อไหล่ขาดหรือหินปูนในข้อไหล่มาซักระยะหนึ่ง
เมื่อมีอาการปวดไหล่จากสาเหตุใดก็ตาม ผู้ป่วยก็จะไม่เคลื่อนไหวข้อไหล่ เมื่อข้อไหล่ไม่เคลื่อนไหว นานเข้าจะเกิดเยื่อพังผืดแทรกในข้อและเนื้อเยื่อรอบข้อไหล่ กล้ามเนื้อจะอ่อนแรงและลีบเล็กลง ทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก
อาการสำคัญ คือ
- ปวดตอนกลางคืน เป็นอาการที่เด่นมาก และพอจะแยกออกได้จากโรคปวดไหล่ที่เกิดจากกระดูกต้นคอเสื่อม โดยปวดไหล่จากหินปูนมักจะปวดร้าวมาได้ถึงข้อศอก ไม่มีชาร่วมด้วย แต่ถ้ากระดูกคอเสือม จะมีอาการปวดและชาลงมาถึงปลายนิ้วได้บ่อยๆ และ
- ถ้าเคลื่อนไหวข้อไหล่ หรือผิดจังหวะจะปวดมาก ผู้ป่วยเลยมักจะอยู่นิ่งๆ ไก็จะไม่ปวด
การตรวจวินิจฉัย
- เอ็กเรย์-ธรรมดา ( plain X-ray )
- เอ็กเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI )
วิธีรักษาอาการปวดในระยะเฉียบพลัน
- หยุดพักการใช้ข้อไหล่ โดย งดยกของหนัก งดเคลื่อนไหวแขนหรือไหล่ในท่าที่ทำให้ปวด อาจใช้ผ้าคล้องแขนไว้ แต่ไม่ควรหยุดใช้ไหล่เกิน 2 - 3 วันเพราะจะทำให้เกิดภาวะข้อไหล่ติดแข็งได้
- การประคบด้วยความร้อน โดยใช้ถุงน้ำร้อน ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น หรือ ใช้ยานวดแก้ปวด แต่ในบางภาวะควรประคบเย็น ถ้าไปประคบร้อนอาการปวดระบมจะมากขึ้นได้ เช่น การอักเสบมี Calcific tendinitis ( มีแคมเซียมในเส้นเอ็น ) หรือจากอุบัติเหตุต้องเลือกประคบเย็น
- รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
- ทำกายภาพบำบัด บริหารข้อไหล่ เพื่อลดอาการปวด และฟื้นฟูสภาพให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
อาการ หรือ สัญญานเตือน อะไรบ้างของอาการปวดไหล่ที่ไม่ควรรอ ?
ถ้าอาการต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์
- มีข้อไหล่บวม หรือ มีอาการปวดร่วมกับการเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ไม่เต็มที่ นานกว่า 2 สัปดาห์ ยิ่งถ้ามีไข้และปวดไหล่บวมด้วยแล้วต้องรีบมาพบแพทย์เพราะอาจเป็นการติดเชื้อในข้อไหล่ได้
- มีอาการชาของแขน หรือมีอาการเย็น หรือเปลี่ยนสีของผิวหนังบริเวณแขนร่วมด้วย
- แขนและไหล่อ่อนแรง ยกแขนไม่ขึ้น
ข้อแนะนำการบริหารข้อไหล่
- ควรเริ่มทำภายหลังจากอาการปวดเริ่มทุเลาลงแล้ว เริ่มด้วยจำนวนครั้งน้อย ๆ และทำในท่าแรก ๆ ก่อน เช่น ลองทำท่าที่ 1-3 ก่อนสัก 1-2 อาทิตย์ ถ้าไม่ปวดก็เพิ่มทำท่าที่ 1-5 แล้วถ้าไม่ปวดก็ค่อยทำจนครบทั้งหมด
- ขณะออกกำลัง ถ้าปวดมากจนทนไม่ไหว ก็ให้ลดจำนวนครั้งลง หรือหยุดพักการบริหารท่านั้นไว้ก่อนจนอาการปวดดีขึ้น จึงค่อยเพิ่มจำนวนขึ้น อย่าหักโหมหรือทำอย่างรุนแรง รวดเร็ว
- สำหรับผู้ที่มีเป็น โรคข้อไหล่ติดแข็ง ขณะทำการบริหารไหล่จะมีอาการปวดเพิ่มขึ้น เพราะต้องทำให้พังพืดในข้อไหล่ยืดออก ดังนั้นถึงแม้ว่าจะรู้สึกปวดก็ต้องพยายามทนให้มากที่สุด ถ้าขณะทำการบริหารแล้วไม่ปวดเลยแสดงว่าทำไม่ถูกวิธี เมื่อมีอาการดีขึ้นก็จะต้องทำกายภาพบำบัดต่อไป ซึ่งอาจจะใช้เวลานานหลายเดือน
- ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวันอย่างน้อย 2-3 รอบ เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นจึงเพิ่มจำนวนครั้งในแต่ละวันมากขึ้น
บทความโดย พ.ต.อ.นพ.จิรันธนิน รัตนวารินทร์ชัย