การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูกข้อเข่าให้ตรง High Tibial Osteotomy (HTO)

 02 Jan 2019  เปิดอ่าน 21560 ครั้ง

“อีกทางเลือกของการรักษาคนไข้ข้อเข่าเสื่อม ที่ต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีกลับคืนมา”

ปัจจุบันการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความรุนแรงของโรคและด้วยความก้าวหน้าของการผ่าตัดด้านกระดูกและข้อนอกจากการใช้ยาฉีดและยาทานแล้วการผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูกข้อเข่าให้ตรงยังเป็นอีกทางหนึ่งซึ่งเป็นวิธีหนึ่งของการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะเริ่มต้นที่ข้อเข่ายังโก่งไม่มากแต่ได้รับการรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล

โดยการผ่าตัดรักษาโรคดังกล่าวสามารถจะใช้กับผู้ป่วยทุกช่วงอายุแต่ส่วนใหญ่จะอายุไม่มากและต้องมีสุขภาพแข็งแรงดีและต้องการกลับมาทํากิจวัตรประวันที่หนักๆได้เหมือนเดิม(high demand activity) “การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูกข้อเข่าให้ตรง” (High tibial osteotomy – HTO)เป็นการผ่าตัดเพื่อปรับแนวการลงน้ําหนักของขาให้กลับมาใกล้เคียงภาวะปกติให้มีการกระจายข้อน้ําหนักให้เท่าๆกันทุกส่วน

โดยจะช่วยให้เกิดการชะลอความเสื่อมของข้อเข่าส่วนที่มีความเสื่อมนั้นให้ นานออกไป และลดการได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมก่อนเวลาอันควร”

Responsive image

รูปที่1 : แสดงภาพถ่าย X-ray ของเข่าขวาก่อน และหลังการผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูกให้ตรง ส่วนเข่าซ็ายคนไข้ได้รับการผ่าตัดเมื่อ5 ปีก่อน และได้ผลดีมาขอรับการผ่าตัดเข่าขวาต่อมา

โดยการผ่าตัดชนิดนี้แพทย์อาจนําระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการผ่าตัด (Computer assisted surgery- CAS) ได้ด้วยเป็นทางเลือกเสริมโดยมีเป้าหมายเพื่อให้การผ่าตัดมีความแม่นยํามากขึ้นแนวขาที่จัดแต่งใหม่ได้ตามความต้องการการใช้ระบบคอมพิวเตอร์นําวิถี ( Navigation assisted surgery) เข้ามาช่วยในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียมในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและใช้กันมากขึ้น

ถ้าคนไข้ต้องการผ่าตัด HTO นี้ร่วมกับการใช้Computer assisted surgery-CAS.. ควรปรึกษาแพทย์ที่ผ่าตัดเพราะไม่ได้ใช้ในทุกเคสเพราะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จะเลือกใช้เป็นรายๆครับ

Responsive image

รูปที่2 : แสดงภาพผ่าตัดด้วยการใช้Computer assisted surgery- CAS และหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อคํานวณวัดมุมในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และสามารถนํามาใช้กับการผ่าตัด HTO ได้เช่นเดียวกัน

ข้อดีที่ได้รับจากผ่าตัด HTO (HIGH TIBIAL OSTEOTOMY)

1.ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตและเล่นกีฬาหนักๆ หรือการวิ่งและทํางานหนักๆได้ดีกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ( TKA Total Knee Arthroplasty ) เพราะการผ่าตัดชนิดนี้แพทย์ยังสามารถเก็บข้อเข่าหมอนรองกระดูกข้อเข่าและผิวข้อคนไข้ไว้เหมือนเดิม ไม่ได้ตัดทิ้งโดยแพทย์อาจพิจารณาทําหัตถการเพิ่มเติมให้นอกจากทํา HTO คือทําการส่องกล้องเข้อเข่าให้ด้วย Arthroscopic surgery เพื่อเข้าไปจัดการรักษาเย็บซ่อม หรือแก้ไขหมอนรองกระดูกข้อเข่าที่ฉีกขาดและผิวข้อกระดูกอ่อนที่เป็นแผลให้ทีเดียวกันเลยโดยการผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่าสามารถทําไปพร้อมกับการผ่าตัดHTO ในคราวเดียวกันได้เลยโดยเพิ่มเวลาผ่าตัดอีกประมาณ 30-45 นาทีเท่านั้น

2.ชลอการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม ( TKA ) ออกไปได้หลายปี หรืออาการอาจจะหายเป็นปกติเลยจนไม่ต้องได้รับการผ่าตัดอื่นๆอีกแล้ว โดยเฉพาะในคนไข้ที่อายุยังไม่มากและยังต้องการใช้งานข้อเข่าหนักๆอยู่ ซึ่งการผ่าตัด TKA จะไม่สามารถให้ได้แบบนี้

ข้อเสียที่ได้รับจากผ่าตัด HTO (HIGH TIBIAL OSTEOTOMY)

  1. ผู้ป่วยต้องเข่าใจการดูแลหลังผ่าตัดซึ่งจะใช้เวลานานกว่า ช่วงแรกใน 1-2 เดือนหลังผ่าตัดแพทย์อาจจะขอให้การเดินต้องใช้ไม้ค้ํารักแร้หรือ Walker เดินไปก่อน รอจนกว่ากระดูกที่จัดแนวจะสมานกัน
  2. คนไข้หลังผ่าตัดจําเป็นต้องทานยาบํารุงข้อเข่าหรือการฉีดน้ําเลี้ยงข้อเข่าต่อเนื่องแต่สามารถลดยาแก้ปวดลงได้เมื่ออาการหายแล้ว

ประโยชน์และข้อดีที่ได้รับจากการใช้คอมพิวเตอร์(Computer assisted surgery- CAS) มาช่วยในการผ่าตัด HTO “( Navigation assisted high tibial osteotomy : NAV-HTO)”

  1. ในระหว่างการผ่าตัดแพทย์สามารถทดลองทําการปรับแนวการลงน้ําหนักของขาได้ตามที่ต้องการและเห็นผลที่เกิดขึ้นแบบ real time
  2. เพิ่มความถูกต้องและแม่นยําอีกทั้งช่วยลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการผ่าตัด
  3. ลดระยะเวลาที่ต้องสัมผัสกับรังสีจากการใช้C-arm หรือFluoroscopy ในห้องผ่าตัด

การดูแลหลังผ่าตัด HTO

- โดยในวันที่2 แพทย์จะเริ่มให้ผู้ป่วยฝึกบริหารโดยการงอและเหยียดหัวเข่าที่ได้รับการผ่าตั ดข้างเตียง

- พอวันที่ 3 แพทย์จะฝึกให้ผู้ป่วยยืนทรงตัวและการเดินลงน้ําหนักบางส่วน ประมาณ 50% บนขาที่ได้รับการผ่าตัดโดยการใช้อุปกรณ์พยุงหรือช่วยการเดิน เช่น ไม้ค้ํายัน หรือ walker เป็นต้น

และผู้ป่วยจําเป็นต้องเดินด้วยวิธีดังกล่าวประมาณ 8 – 12 สัปดาห์ เพื่อรอให้กระดูกที่จัดแนวให้ตรงนั้นสมานกันดีเสียก่อน จึงจะลงน้ําหนักได้ 100% ซึ่งเป็นข้อเสียของการผ่าตัดชนิดนี้ที่ไม่ได้รุนแรงอะไร แค่ผู้ป่วยต้องทําความเข้าใจการจะเลือกผ่าตัดชนิดนี้ก่อน

อย่างไรก็ตามการผ่าตัดวิธีนี้ไม่ได้เหมาะสําหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมทุกราย แพทย์จําเป็นต้องเลือกผู้ป่วยที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลการผ่าตัดที่ดี

Responsive image

รูปที่3 : แสดงภาพหลังผ่าตัดคนไข้หายเป็นปกติแล้ว สามารถนั่งพับเพียบและขัดสมาธิได้

ผู้ป่วยแบบไหนที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัดด้วยวิธี HTO

  1. ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะท้ายๆ หรือมีความเสื่อมเกิดขึ้นในทุกส่วนของหัวเข่าแล้ว แต่จริงแล้วข้อที่1 นี้ถ้าผู้ป่วยไม่ต้องการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ซึ่งตัดผิวข้อเข่าทิ้งไป ก็ยังสามารถทําผ่าตัด HTO ได้ เพียงแต่ว่าผลของการผ่าตัดจะลดน้อยกว่าผู้ป่วยที่มีระยะข้อเข่าเสื่อมไม่มาก แต่การผ่าตัด HTO
  2. ข้อเข่าที่แข็งติดงอก็ไม่เข้า เหยียดก็ไม่สุด ข้อเข่าเสื่อมที่โก่งมากจนเกินไป รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีอายุมาก หรือไม่ค่อยมีกิจกรรมในชีวิตประจําวันมากเท่าไหร่(low demand activity) เป็นต้น สมควรที่จะเลือกใช้การผ่าตัดรักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนผิวข้อเทียม TKA ) จะให้ผลการผ่าตัดที่ดีกว่า


ผลการรักษา

ติดต่อเรา

รพ.ตำรวจ

คลินิกพิเศษนอกเวลา(คลินิกรุ่งอรุณ)

เบอร์โทร

02-207-6000 ต่อ 10479

ที่อยู่

492 1 ถนน พระรามที่ ๑ แขวง ปทุมวัน เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

เวลาทำการ

จ. 05:00 - 08:00 น.
พฤ. 05:00 - 08:00 น.

รพ.เทพธารินทร์

เบอร์โทร

02-348-7000

ที่อยู่

3850 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง คลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

เวลาทำการ

จ. 17:00 น. - 20:00 น.

รพ.นนทเวช

ติดกับ The Mall งามวงค์วาน

เบอร์โทร

02-596-7888

ที่อยู่

30/8 ถ. งามวงศ์วาน ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

เวลาทำการ

อ. 16:00 น. - 21:00 น.
ส. 12.00 - 16.00 น.

รพ.เปาโล พหลโยธิน

สะพานควาย

เบอร์โทร

02-279-7000

ที่อยู่

670/1 พหลโยธิน แขวง สามเสนใน เขต พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

เวลาทำการ

ส. 9:00 - 11:30 น.
เฉพาะสัปดาห์ที่ 2,4 ของเดือน