เอ็นข้อไหล่ฉีก เรื่องใหญ่ที่ต้องรีบหาทางออก


Responsive image

ที่หมอใช้หัวข้อดุดันว่า อาจพิการได้ เพราะต้องการให้ความรู้ว่าบางภาวะของโรคปวดไหล่จากสาเหตุเส้นเอ็นข้อไหล่ขาด ถ้าไม่รักษาปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้พิการได้จริงๆ คือทำให้มีอาการอ่อนแรงของข้อไหล่ และถ้าเป็นในแขนข้างถนัดก็จะให้อ่อนแรงถึงขั้นยกแขนไม่ขึ้นหรือแม้แต่ไม่มีแรงจับ ช้อนอาหารตักเข้าปากได้

สาเหตุของโรคปวดไหล่ ที่พบบ่อยที่ OPD กระดูกและข้อ ขอแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

A. บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ: ทำให้เกิด กล้ามเนื้อฉีกขาด เส้นเอ็นขาด กระดูกหัก หรือ ข้อเคลื่อน

B. ปวดไหล่ที่ไม่ได้มีอุบัติเหตุนำมาก่อน ซึ่งจะพบได้มากขึ้นในคนไข้อายูมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป

  1. การใช้ข้อไหล่มากไป หรือ อย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ หรือ กล้ามเนื้อฉีกขาด
  2. หินปูนในข้อไหล่ บริเวณกระดูก Acromian มีการศึกษาวิจัยกายวิภาคของกระดูกชนิดนี้ในคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนมีลักษณะกระดูกนี้เป็นตะขอ ( Hook type ) ทำให้เวลาทำกิจกรรมหรือกีฬาที่เป็น Over head บ่อยๆ เช่นการตีแบตมินตัน การยกน้ำหนักในแบบท่าเหนือหัวบ่อยๆ ทำให้หินปูนที่เกาะที่กระดูกนี้ไปเสืยดสีกับเส้นเอ็นข้อไหล่ได้ บางครั้งก็ทำให้แค่อักเสบ แต่ถ้าเป็นนานๆขึ้นหรือมากขึ้นก็พัฒนาไปเป็นเอ็นข้อไหล่ฉีกขาดได้ ( Rotator cuff tendon tear
    Responsive image
  3. การเสื่อมตามธรรมชาติ ( degeneration ) ของเส้นเอ็น และกระดูก จะพบในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย มีการศึกษาวิจัยพบว่าการเกิดสถาวะเสื่อม และขาดเลือดไปเลี้ยงเส้นเอ็น Rotator cuff tendon ทำให้เอ็นมาการฉีกขาดได้
    Responsive image
  4. โรคแคมเซียมเกาะข้อไหล่ ( Calcific tendinitis ) โรคนี้ผู้ป่วยมักตื่นขึ้นมาในตอนเช้าจะมีอาการปวดเฉียบพลัน
    Responsive image
  5. โรคข้ออักเสบ ที่มีข้อไหล่อักเสบร่วมด้วยได้ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์
    Responsive image
  6. อาการปวดไหล่ จากโรคอื่นๆ แต่มีอาการปวดร้าวมาจากที่ข้อไหล่ เช่น กระดูกคอเสื่อม กล้ามเนื้อหลังอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ โรคของหัวใจ โรคตับ มะเร็ง เป็นต้น
  7. ข้อไหล่ติด พบได้บ่อยใน ผู้สูงอายุ โดยแบ่งได้เป็น
    1. ข้อไหล่ติดแบบไม่ทราบสาเหตุ พบได้น้อยกว่า และอาจมีโรคประจำตัวเช่น โรคไทรอยด์
    2. ข้อไหล่ติดจากเป็นผลตามมาของโรคอื่น เช่น ไหล่ติดจากอุบัติเหต หรือเกิดอาการไหล่ติดหลังมีเอ็นข้อไหล่ขาดหรือหินปูนในข้อไหล่มาซักระยะหนึ่ง

เมื่อมีอาการปวดไหล่จากสาเหตุใดก็ตาม ผู้ป่วยก็จะไม่เคลื่อนไหวข้อไหล่ เมื่อข้อไหล่ไม่เคลื่อนไหว นานเข้าจะเกิดเยื่อพังผืดแทรกในข้อและเนื้อเยื่อรอบข้อไหล่ กล้ามเนื้อจะอ่อนแรงและลีบเล็กลง ทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก

อาการสำคัญ คือ

  1. ปวดตอนกลางคืน เป็นอาการที่เด่นมาก และพอจะแยกออกได้จากโรคปวดไหล่ที่เกิดจากกระดูกต้นคอเสื่อม โดยปวดไหล่จากหินปูนมักจะปวดร้าวมาได้ถึงข้อศอก ไม่มีชาร่วมด้วย แต่ถ้ากระดูกคอเสือม จะมีอาการปวดและชาลงมาถึงปลายนิ้วได้บ่อยๆ และ
  2. ถ้าเคลื่อนไหวข้อไหล่ หรือผิดจังหวะจะปวดมาก ผู้ป่วยเลยมักจะอยู่นิ่งๆ ไก็จะไม่ปวด

การตรวจวินิจฉัย

  1. เอ็กเรย์-ธรรมดา ( plain X-ray )
  2. เอ็กเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI )

วิธีรักษาอาการปวดในระยะเฉียบพลัน

  1. หยุดพักการใช้ข้อไหล่ โดย งดยกของหนัก งดเคลื่อนไหวแขนหรือไหล่ในท่าที่ทำให้ปวด อาจใช้ผ้าคล้องแขนไว้ แต่ไม่ควรหยุดใช้ไหล่เกิน 2 - 3 วันเพราะจะทำให้เกิดภาวะข้อไหล่ติดแข็งได้
  2. การประคบด้วยความร้อน โดยใช้ถุงน้ำร้อน ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น หรือ ใช้ยานวดแก้ปวด แต่ในบางภาวะควรประคบเย็น ถ้าไปประคบร้อนอาการปวดระบมจะมากขึ้นได้ เช่น การอักเสบมี Calcific tendinitis ( มีแคมเซียมในเส้นเอ็น ) หรือจากอุบัติเหตุต้องเลือกประคบเย็น
  3. รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
  4. ทำกายภาพบำบัด บริหารข้อไหล่ เพื่อลดอาการปวด และฟื้นฟูสภาพให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น

อาการ หรือ สัญญานเตือน อะไรบ้างของอาการปวดไหล่ที่ไม่ควรรอ ?

ถ้าอาการต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์

  1. มีข้อไหล่บวม หรือ มีอาการปวดร่วมกับการเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ไม่เต็มที่ นานกว่า 2 สัปดาห์ ยิ่งถ้ามีไข้และปวดไหล่บวมด้วยแล้วต้องรีบมาพบแพทย์เพราะอาจเป็นการติดเชื้อในข้อไหล่ได้
  2. มีอาการชาของแขน หรือมีอาการเย็น หรือเปลี่ยนสีของผิวหนังบริเวณแขนร่วมด้วย
  3. แขนและไหล่อ่อนแรง ยกแขนไม่ขึ้น

ข้อแนะนำการบริหารข้อไหล่

  1. ควรเริ่มทำภายหลังจากอาการปวดเริ่มทุเลาลงแล้ว เริ่มด้วยจำนวนครั้งน้อย ๆ และทำในท่าแรก ๆ ก่อน เช่น ลองทำท่าที่ 1-3 ก่อนสัก 1-2 อาทิตย์ ถ้าไม่ปวดก็เพิ่มทำท่าที่ 1-5 แล้วถ้าไม่ปวดก็ค่อยทำจนครบทั้งหมด
  2. ขณะออกกำลัง ถ้าปวดมากจนทนไม่ไหว ก็ให้ลดจำนวนครั้งลง หรือหยุดพักการบริหารท่านั้นไว้ก่อนจนอาการปวดดีขึ้น จึงค่อยเพิ่มจำนวนขึ้น อย่าหักโหมหรือทำอย่างรุนแรง รวดเร็ว
  3. สำหรับผู้ที่มีเป็น โรคข้อไหล่ติดแข็ง ขณะทำการบริหารไหล่จะมีอาการปวดเพิ่มขึ้น เพราะต้องทำให้พังพืดในข้อไหล่ยืดออก ดังนั้นถึงแม้ว่าจะรู้สึกปวดก็ต้องพยายามทนให้มากที่สุด ถ้าขณะทำการบริหารแล้วไม่ปวดเลยแสดงว่าทำไม่ถูกวิธี เมื่อมีอาการดีขึ้นก็จะต้องทำกายภาพบำบัดต่อไป ซึ่งอาจจะใช้เวลานานหลายเดือน
  4. ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวันอย่างน้อย 2-3 รอบ เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นจึงเพิ่มจำนวนครั้งในแต่ละวันมากขึ้น
Responsive image Responsive image

บทความโดย พ.ต.อ.นพ.จิรันธนิน รัตนวารินทร์ชัย

ผลการรักษา

ติดต่อเรา

รพ.ตำรวจ

คลินิกพิเศษนอกเวลา(คลินิกรุ่งอรุณ)

เบอร์โทร

02-207-6000 ต่อ 10479

ที่อยู่

492 1 ถนน พระรามที่ ๑ แขวง ปทุมวัน เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

เวลาทำการ

จ. 05:00 - 08:00 น.
พฤ. 05:00 - 08:00 น.

รพ.เทพธารินทร์

เบอร์โทร

02-348-7000

ที่อยู่

3850 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง คลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

เวลาทำการ

จ. 17:00 น. - 20:00 น.

รพ.นนทเวช

ติดกับ The Mall งามวงค์วาน

เบอร์โทร

02-596-7888

ที่อยู่

30/8 ถ. งามวงศ์วาน ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

เวลาทำการ

อ. 16:00 น. - 21:00 น.
ส. 12.00 - 16.00 น.

รพ.เปาโล พหลโยธิน

สะพานควาย

เบอร์โทร

02-279-7000

ที่อยู่

670/1 พหลโยธิน แขวง สามเสนใน เขต พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

เวลาทำการ

ส. 9:00 - 11:30 น.
เฉพาะสัปดาห์ที่ 2,4 ของเดือน