เสียวเข่า-เจ็บเข่าแปล๊บๆ-เข่ามีเสียง!!! ต้องอ่าน

 24 Nov 2019  เปิดอ่าน 370709 ครั้ง

ผิวกระดูกอ่อนเข่าอักเสบ 

อาการเจ็บ-เสียวเข่าที่พบเจอได้ทุกวัย

ปวดเข่า-เข่ามีเสียงเวลาขึ้นลงบันได

สัญญาณบ่งบอกอาการเข่าเสื่อม


โรคผิวกระดูกอ่อนลูกสะบ้าเข่าอักเสบ”

 “อีกโรคปวดเข่ายอดฮิตของคนหนุ่มสาว และวัยกลางคน 

     ที่เป็นจุดเริ่มต้นของเข่าเสื่อมตอนอายุเกิน 50”

 



โรคผิวกระดูกอ่อนลูกสะบ้าเข่าอักเสบ”

เป็นกลุ่มอาการปวด-เสียว-แปล๊บ-เจ็บที่บริเวณหน้าเข่า ที่เรียกว่า patellofemoral pain syndrome โดยเกิดรอยโรคที่ใต้ลูกสะบ้า ( Patellar )

แพทย์บางท่านจะแปลและบอกคนไข้ว่าโรคผิวสะบ้านิ่ม หรือ Chondromalacia patellae หรือ ผิวลูกสะบ้าเสื่อม หรือ เริ่มเสื่อม 

ก็คงแล้วแต่จะเเปลความหมายตามรากศัพท์กันไปเพื่อให้คนไข้เข้าใจมากขึ้นนั้นเอง


โรคผิวสะบ้าอักเสบนี้ พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2-3 เท่า

อายุที่พบได้บ่อยคือ วัยกลางคน 20 - 40 ปี และนักกีฬาบางรายที่ออกกำลังไม่ถูกวิธี

ซึ่งพยาธิสภาพของ โรคนี้ เกิดที่บริเวณผิวข้อ ( Cartilage )ใต้กระดูกลูกสะบ้า

 

ภาพได้มาจาก https://www.dovemed.com

ภาพได้มาจาก www.drjosephnorris.com

อธิบายประกอบภาพ ; 

รูปบน- แสดงข้อเข่าปกติ และผิวข้อกระดูกอ่อน ( Cartilage ) 

     ของลูกสะบ้าด้านใน เวลาพลิกออกให้ดูชัดๆ ก็ปกติ  

     ผิวเรียบไม่ขุรขระ

รูปล่าง- แสดงข้อเข่าที่มีรอยโรคผิว cartilage เริ่มนิ่ม เริ่มเสื่อม 

     ผิวไม่เรียบมีขุรขระ ดูอักเสบและแดง


 

อาการของโรค

ผู้ป่วยจะมีอาการเสียว ปวด เจ็บหรือแค่รู้สึกแปล๊บๆในรายทีอาการไม่มาก

โดยจะเป็นบริเวณหน้าเข่าหลายรายมีอาการเสียงดังในเข่าร่วมด้วย

อาการที่พบในชีวิตประจำวันมากที่สุดคือจะมีอาการเจ็บ เสียว


1.เวลาขึ้นลงบันได อาการจะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับโรคว่าเป็นแผลหรือ

  ผิวลูกสะบ้าอักเสบมากหรือน้อย

2.เวลานั่งอยู่ในรถ แล้วลุกลงจากรถ หรือนั่งนานๆแล้วลุกเปลี่ยนท่า

3.นั่งยองๆ ทำกิจกรรมต่าง หรือ  

  นั่งเก้าอี้นั่งเตี้ยๆแล้วจังหวะลุกขึ้นจะเจ็บเสียว

4.นั่งพับเพียบ หรือ ขัดสมาธิ


โดยสรุปจะมีอาการตอนที่เข่าอยู่ในจังหวะงอ งอเท่าไหร่

โดยส่วนใหญ่อยู่ที่การงอเข่ามากกว่า 90 องศา

พองอเข่าได้สักพักแล้วเหยียดเข่าในท่าลุกขึ้นทันทีจะมีอาการเสียว

เนื่องจากมีแรงกระทบไปที่ใต้ลูกสะบ้ามากขึ้นนั้นเอง การเดินทางราบอาการเจ็บจะไม่มากหรืออาจไม่มีอาการ

โดยรวมแล้วอาการปวดมักไม่มาก ไม่รุนแรง คนไข้มักทนได้

มีอาการแค่เพียงเสี่ยววินาทีที่เจ็บเสียว จะปวดลักษณะรำคาญ 

คนไข้จะรู้สึกเป็นเรื้งรังจัง เป็นหลายเดือน หลายสัปดาห์แล้วไม่หายสักที

จนหลายคนพลานวิตกจริตคิดว่า เข่าจะเสื่อมแล้วใช่ไหม

( คำตอบคือ โรคนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งได้ที่จะพัฒนะไปเป็นเข่าเสื่อมได้ในอนาคต ตอนอายุเริ่มมากขึ้น ถ้าไม่รักษา ​)

จากปวดน้อยก็อาจมีปวดเสียวมากในบางวัน หากมีอาการกำเริบก็จะปวดมากขึ้นเป็นบางครั้งได้

แต่จะมีอาการบวม ร้อนที่เข่าเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย



เช็คอาการปวดเข่า เข่ามีเสียง สัญญาณ “ข้อเข่าเสื่อม”

1. รู้สึกปวดเข่า โดยเฉพาะเวลางอเข่าหรือเมื่ออากาศเย็นๆ

2. รู้สึกปวดเข่า เวลาขึ้นลงบันได วิ่ง หรือ กระโดด

3. ได้ยินเสียงก๊อกแก๊กเวลางอเหยียดเข่า

4. รู้สึกปวดเข่ามากขึ้นเมื่อนั่งพับเพียบ นั่งยองๆ  

    หรือนั่งในท่าที่เข่างอมากๆ


โรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

โรคนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น มี 3ทฤษฎี

ที่พอจะอธิบายการเกิดของโรคได้ ดังนี้

   

1. ท่านั่งที่พับเข่า หรือชันเข่า นั่งกับพื้น หรือมีการงอเข่าเกินมุม 90 องศา นานไป

มีการนั่งที่ไม่ถูกลักษณะ รวมถึงใช้งานมาก เดินมากไป ยืนนานไป

ทำให้เข่าอยู่ในลักษณะที่เข่ารับแรงกระแทกนานไป นานเท่าไหร่ไม่มีใครศึกษาไว้

บางคนไข้นั่งงอเข่านานแค่ 5 นาที ลุกขึ้นมาก็มีอาการไปหลายเดือนหลายสัปดาห์

2. กล้ามเนื้อรอบเข่าไม่แข็งแรง ไม่กระชับ เราทั่วไปมักคิดว่ากล้ามเนื้อเข่าก็ดูปกติ ไม่ได้ดูไม่แข็งแรงตรงไหน

3. อุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บที่ผิวสะบ้า


                              แหล่งภาพได้มาจาก : www.dmc.tvและwww.nestle.co.th


เมื่อท่านมาพบแพทย์

แพทย์จำเป็นต้องซักประวัติการใช้งานข้อเข่า

ว่าในชีวิตประจำวันมีนั่งผิดท่านั่งพับเข่าไหม ?

ขึ้นลงบันไดมากไปไหม ?

เดินหรือยืนนานไปไหม ?

แพทย์จะตรวจลูกสะบ้า กดลูกสะบ้าเพื่อจำลองแรงที่กดที่กระทำต่อผิวข้อ ( Patellar grinding test )

       

                      แหล่งภาพได้มาจาก : medisavvy.com/patellofemoral-grind-test


จากการตรวจ test นี้คนไข้อาจรู้สึกเจ็บบ้าง

ถ้าคนไข้มีอาการมานาน หรืออายุมากเกินวัยกลางคนแล้วเช่น

อายุ มากกว่า 50 ปี หรือมีแนวเข่าแนวขาที่เริ่มผิดปกติ เช่น ขาเริ่มโก่งเข้าใน โก่งออกนอก

แพทย์อาจขอ Film X-ray เบื้องต้นดู แต่ถ้า X-ray ไม่พบอะไรผิดปกติ

หรือลองรักษาแล้วนัดมาดูอาการแต่อาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจขอให้ทำ MRI

เพื่อดูให้ละเอียดถึงผิวกระดูกอ่อน ( Cartilage lesion ) 


วิธีการรักษา โรคผิวกระดูกอ่อนลูกสะบ้าเข่าอักเสบ”

เกือบทั้งหมด สามารถรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัด

จากสถิติมีแค่ส่วนน้อยมากของคนไข้โรคนี้ที่ต้องผ่าตัด

เมื่อได้ข้อมูลอย่างนี้ผู้ที่มาอาการของโรคนี้ไม่ต้องกลัว

วิธีง่ายๆในการรักษาโรคนี้คือ


1.ปฎิบัติตามแพทย์แนะนำในการนั่ง/ยืน ให้ถูกวิธี 

โดยสามารถ Download ข้อแนะนำในการดูแลตัวเองได้จาก Link นี้

https://drive.google.com/file/d/1YSpTH3P5NYKR1bno6OxaMVbsJG_XVijR/view?usp=sharing

(แหล่งข้อมูลได้มาจาก www.bloggang.com นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์)


   โดยในข้อแนะนำนี้จะบอกว่าต้องหลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้แรงที่

   ไปกดสะบ้าสูงขึ้นได้อย่างไร เช่นห้ามการนั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ  

   ขัดสมาธิ และนั่งยองๆ

2. การออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าเพื่อให้เข่ากระชับแข็งแรงขึ้น 

เพื่อให้การเสียดสี และแรงกดที่เข่าจะได้ลดลง

   โดยกล้ามเนื้อรอบเข่ามัดหลักมี 4 มัด คือ 

มัดหน้าเข่า-มัดหลังเข่า-มัดด้านในเข่า-มัดด้านนอกเข่า

   โดยทำบริหารทุกวันๆละ 2-3 ครั้งๆละประมาณ 5-10นาที

   สามารถชม VDO บริหารกล้ามเนื้อทั้ง 4 มัดได้

   ตาม YouTube Link นี้  https://youtu.be/uhqr4MuWtpc

3. การใช้อุปกรณ์พยุงเข่าในระยะระหว่างที่มีอาการปวดเข่า เช่น  

    ตอนวิ่ง ยืน หรือเดินนานๆ

4. รักษาด้วยการรับประทานยาเพื่อลดอาการปวด 

    และการอักเสบเมื่อจำเป็น โดยควรปรึกษาแพทย์

5. รักษาด้วยการทานยาบำรุงข้อกลุ่ม Glucosamine และ หรือ Diacerein 

หรืออาจรวมการฉีดยาน้ำมันข้อเข่าเทียม ด้วย

เพราะในบางรายอาการผิวกระอ่อนลูกสะบ้าเข่าอักเสบนั้นเป็นมากขึ้น

จนเกิดอาการผิวข้อเริ่มเสื่อมตามมา


มีการออกกำลังกายบางอย่างที่เป็นการบริหารกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรง

แต่กลับบริหารไม่ถูกวิธีหรือทำมากไป กลับทำให้อาการปวดเข่าจาก

โรคผิวประดูกอ่อนลูกสะบ้าเข่าอักเสบ กำเริบและเป็นมากขึ้น คือ 

-การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยาน

-การบริหารโดยการทำท่า Squad 

-การออกกำลังกายโดยการวิ่งขึ้นวิ่งลงบันได การทำสก็อตจัมพ์

   

การออกกำลังเหล่านี้หมอพบคนไข้มาปรึกษาด้วยอาการปวดเข่าได้บ่อย

หากการรักษาขั้นต้นไม่ดีขึ้น (ซึ่งพบได้น้อยที่จะไม่ดีขึ้น ) แพทย์อาจพิจารณาวิธีการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

แพทย์จะไม่แนะนำวิธีนี้ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เนื่องจากผลการรักษาในกรณีไม่พบสาเหตุแน่ชัดจำทำให้ผลการผ่าตัดไม่ดีนัก  


การผ่าตัดแบ่งเป็น 2 วิธี คือ

1. การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อทำความสะอาดแต่งผิวสะบ้าให้เรียบ

รวมถึงการเจาะกระดูกเพื่อให้มีการซ่อมแซม

2. การผ่าตัดจัดตำแหน่งลูกสะบ้าให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

ในกรณีที่มีปัญหาลูกสะบ้าอยู่ไม่ถูกตำแหน่ง


การป้องกัน

การป้องกันโรคนี้ดีกว่าการแก้ปัญหาอย่างแน่นอน ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ และมีวิธีป้องกัน ดังนี้

1.จัดท่านั่ง ท่านอน ยืน เดิน ให้ถูกวิธี

ไม่อยู่ในท่าพับเข่า หรืองอเข่าเกินมุม 90 องศา

   ที่ทำให้มีแรงกระทบและเสียดสีผิวกระดูกอ่อนลูกสะบ้า          

2. การฝึกฝนกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง และทำบริหารเป็นประจำ 

   การทำบริหารแค่ 2-3 สัปดาห์คงไม่ทำให้อาการหายไป 

  เพราะกล้ามเนื้อไม่ได้แข็งแรงพอ ต้องทำมากกว่า 3 เดือนขึ้นไปถึงจะเริ่มเห็นผล

โดยทำประจำทุกวัน

3. การลดน้ำหนักให้เหมาะสมกับร่างกาย

4. การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี มีการยืดกล้ามเนื้อ ก่อนและหลังเล่นกีฬา 

         

คนไข้ที่สนใจท่าบริหารเข่า และ VDO การบริหารเข่า 4 มัดหลักที่ถูกวิธี

สามารถติดตามได้จาก Website : Jirantanin.com หรือที่ช่องทาง YouTube ที่ลิงค์นี้ 

https://youtu.be/mgKI1s-DwZY


      

รวม Link ที่ควร Download


1.ข้อแนะนำในการดูแลตัวเอง-ดูแลข้อเข่า

https://drive.google.com/file/d/1YSpTH3P5NYKR1bno6OxaMVbsJG_XVijR/view?usp=sharing

(แหล่งข้อมูลได้มาจาก bloggang.com นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์)


2.VDO ท่าบริหารข้อเข่าที่ถูกวิธี ทำแล้วไม่เจ็บเข่า

https://youtu.be/0myEHFA2T3k

https://youtu.be/uhqr4MuWtpc

https://youtu.be/zG0OJm-y4Kc

https://youtu.be/mgKI1s-DwZY

https://youtu.be/pLw5bKVe9MA

https://youtu.be/rHkZKG1vq78


3. VDO การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียม และเอกสารความรู้

https://youtu.be/6T44uQz8ACs

https://jirantanin.com/blog/น้ำไขข้อเทียม-hyaluronic-acid-vs-เกร็ดเลือด-platelet-rich-plasma-25


ผลการรักษา

ติดต่อเรา

รพ.ตำรวจ

คลินิกพิเศษนอกเวลา(คลินิกรุ่งอรุณ)

เบอร์โทร

02-207-6000 ต่อ 10479

ที่อยู่

492 1 ถนน พระรามที่ ๑ แขวง ปทุมวัน เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

เวลาทำการ

จ. 05:00 - 08:00 น.
พฤ. 05:00 - 08:00 น.

รพ.เทพธารินทร์

เบอร์โทร

02-348-7000

ที่อยู่

3850 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง คลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

เวลาทำการ

จ. 17:00 น. - 20:00 น.

รพ.นนทเวช

ติดกับ The Mall งามวงค์วาน

เบอร์โทร

02-596-7888

ที่อยู่

30/8 ถ. งามวงศ์วาน ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

เวลาทำการ

อ. 16:00 น. - 21:00 น.
ส. 12.00 - 16.00 น.

รพ.เปาโล พหลโยธิน

สะพานควาย

เบอร์โทร

02-279-7000

ที่อยู่

670/1 พหลโยธิน แขวง สามเสนใน เขต พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

เวลาทำการ

ส. 9:00 - 11:30 น.
เฉพาะสัปดาห์ที่ 2,4 ของเดือน